วันพฤหัสบดีที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หัวหิน

หัวหิน-HuaHin
นับเนื่องแต่รางรถไฟสายใต้พาดผ่าน "บ้านสมอเรียง" เมื่อครั้งรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นับแต่นั้นผู้คนจากพระนครก็เริ่มหลั่งไหลสู่หมู่บ้านริมฝั่งทะเลที่มีชายหาดสวยงาม และสงบเงียบแห่งนี้ พร้อม ๆ กับการหลั่งไหลความเจริญดังเช่น โรงแรมรถไฟ และ สนามกอล์ฟหลวงหัวหิน สนามกอล์ฟแห่งแรกของไทย ซึ่งสวยงามและทันสมัยที่สุดในเอเชียอาคเนย์ ตลาดฉัตรไชย หมู่ตำหนักและบ้านเรือนน้อยใหญ่ของเจ้านายจากเมืองหลวง นับเป็นการเปิดตัวเมืองตากอากาศชายทะเลยุคแรก ๆ ของไทย เป็นที่รู้จักและเรียกขานในชื่อใหม่ "บ้านหัวหิน"
จวบจนปัจจุบัน
หัวหินถูกเลือกเป็นจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวสำหรับการไปตากอากาศ หัวหินนับว่าเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางทะเลที่เก่าแก่ได้รับความนิยมเสมอมา ทุกวันนี้การไปเยือนหัวหิน ถือได้ว่าไปเยือนแหล่งอากาศที่คลาสสิก หัวหินในปัจจุบันพรั่งพร้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย ในขณะที่ชายหาดยังคงมีสภาพธรรมชาติ หาดทรายขาวสะอาดตา ความงดงามของชายหาดหัวหินยังคงอยู่ อากาศบริสุทธิ์ไม่ต่างจากวันวาน หัวหินจึงเป็นจุดหมายของนักเดินทางผู้แสวงหาการพักผ่อนที่แท้จริง
ก่อนหน้าที่ชื่อหัวหินยังไม่เกิด มีเรื่องเล่าขานกันว่าราวปี พ.ศ. 2377 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พื้นที่เกษตรกรรมบางแห่งของเมืองเพชรบุรีแห้งแล้งกันดารมาก ราษฏรกลุ่มหนึ่งจึงทิ้งถิ่นย้ายลงมาทางใต้ จนมาถึงบ้านสมอเรียงซึ่งอยู่เหนือขึ้นมาจากเขาตะเกียบและบ้านหนองแกหรือบ้านหนองสะแก ที่บ้านสมอเรียงนี้มีหาดทรายชายทะเลแปลกกว่าที่อื่นคือมีกลุ่มหินกระจัดกระจายอยู่อย่างสวยงาม ทั้งที่ดินก็มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับทำไร่ทำนาการประมง บรรพชนเหล่านี้จึงเป็นเสมือนผู้ที่ลงหลักปักเสาสร้างบ้านหัวหินขึ้น จนกลายเป็นหมู่บ้านที่เรียกกันแต่แรกว่า “ บ้านสมอเรียง ” พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศวรฤทธิ์ (พระองค์เจ้าชายกฤษดาภินิหาร ต้นราชสกุลกฤดากร) เป็นเจ้านายพระองค์แรกที่สร้างตำหนักหลังใหญ่ชายทะเลด้านใต้ของหมู่หิน (ปัจจุบันอยู่ติดกับโรงแรมโซฟิเทลฯ) และประทานชื่อตำหนักว่า “แสนสำราญสุขเวศน์” ต่อมาทรงปลูกอีกหลังหนึ่งแยกเป็น แสนสำราญ และ สุขเวศน์ เพื่อไว้ใช้รับเสด็จเจ้านาย พร้อมกับทรงสร้างเรือนขนาดเล็กใต้ถุนสูงอีกหลายหลัง ซึ่งต่อๆ มาคือ “บังกะโลสุขเวศน์” ทรงขนานนามหาดทรายบริเวณตำหนักและหาดถัดๆ ไปทางใต้เสียใหม่ว่า “หัวหิน” เป็นคนละส่วนกับบ้านแหลมหินเดิม โดยมีกองหินชายทะเลเป็นที่หมายแบ่งเขต ซึ่งบ้านแหลมหินเดิมมีเขตด้านใต้ถึงเพียงแค่ต้นเกดใหญ่ชายทะเล (ปัจจุบันอยู่หน้าโรงแรมโซฟิเทลฯ มีศาลเทพารักษ์ใหญ่) เท่านั้น ไม่ถึงที่ดินของเสด็จในกรมฯ ครั้นเมื่อวันเวลาผ่านไป ชื่อ “หัวหิน” ก็แผ่คลุมทั้งหาดทั้งตำบลจนขยายเป็นอำเภอหัวหินส่วนที่ดินแปลงที่อยู่ตรงหมู่หินชายทะเล เป็นของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ซึ่งทรงสร้างตำหนักใหญ่ขึ้นถึงสองครั้ง ครั้งแรกคือตำหนักขาว ครั้งหลังคือตำหนักเทาและเรือนเล็กอีกหลายหลัง ซึ่งก็คือบ้านจักรพงษ์ในเวลาต่อมา ปัจจุบันคือโรงแรมเมเลีย ซึ่งได้เปลี่ยนผู้ดำเนินการเป็นโรงแรมฮิลตันในช่วงเวลาเดียวกันกับการสร้างพระราชวังไกลกังวล พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ต้นราชสกุลบุรฉัตร ก็ได้จัดสร้างตลาดฉัตร์ไชยขึ้นในที่ดินพระคลังข้างที่ โดยออกแบบให้มีหลังคารูปโค้งครึ่งวงกลมต่อเนื่องกัน 7 โค้ง เพื่อสื่อความหมายว่าเป็นการสร้างขึ้นในรัชกาลที่ 7 ทั้งตัวอาคารและแผงขายสินค้าเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก ตัวตลาดโล่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจัดว่าเป็นตลาดที่ถูกสุขลักษณะที่สุดของประเทศไทยในขณะนั้น ชื่อตลาดฉัตร์ไชยนี้มาจากพระนามเดิมของพระองค์ คือพระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากรนั่นเอง ต่อมาตลาดฉัตร์ไชยและโรงแรมรถไฟ หรือโฮเต็ลหัวหินก็กลายเป็นสัญลักษณ์ของชายทะเลหัวหิน ส่วนพระราชวังไกลกังวลนั้นถือว่าเป็นสถานที่อันควรสักการะบูชา มากกว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวนับตั้งแต่มีการสร้างทางรถไฟสายใต้แล้วเสร็จ เชื่อมต่อกับชายแดนของประเทศมาเลเซีย หัวหินก็มีชื่อเสียงว่าเป็นสถานที่พักตากอากาศอันลือชื่อของไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวนิยมมาพักผ่อน ว่ายน้ำ ตกปลา และตีกอล์ฟเนื่องจากมีสนามกอล์ฟ หัวหินรอยัลกอล์ฟ ซึ่งจัดเป็นสนามกอล์ฟระดับมาตรฐานสากลแห่งแรกของประเทศไทยอีกด้วยชื่อเสียงของหัวหินนั้น เติบโตเคียงข้างมากับโรงแรมรถไฟก็ว่าได้ ต่อมามีการสร้างบังกะโลขึ้นคือ เซ็นทรัลหัวหินวิลเลจ ซึ่งได้ถูกคัดเลือกให้เป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่อง “Devil's Paradise” เช่นเดียวกับโรงแรมรถไฟหัวหิน ซึ่งใช้เป็นฉากถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศเรื่อง “The Killing Fields” โดยเป็นการจำลองสถานที่คือ โรงแรมชั้นนำในกรุงพนมเปญในยุคสงครามที่มา http://www.huahin.go.thหัวหิน นับเป็นสถานที่ที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีเวลาน้อย อาจจะเป็นในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์สักวันถึงสองวัน เพราะหัวหินไม่ห่างจากกรุงเทพฯ มากนัก นั่งรถไฟมาลงที่สถานีหัวหิน หาเช่ามอเตอร์ไซค์ สักคัน เปิดห้องพักแบบสบาย ๆ อาหารทะเลสด ๆ ตามร้านอาหารที่มีอยู่อย่างดาษดื่น เที่ยวชมตัวเมืองหัวหิน พอเริ่มรู้สึกว่าได้กลิ่นไอทะเล คุณก็สามารถที่จะเดินลงไปชมชายหาด ปล่อยอารมณ์ไปกับสายลมที่พัดผ่านไปมา หรืออาจจะลงเล่นน้ำทะเลก็ได้อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของตัวเมือง มีทางลงหาดอยู่ที่ถนนดำเนินเกษม สองข้างทางลงหาดมีโรงแรมและร้านจำหน่ายสินค้าที่ระลึก หาดหัวหินมีความยาวประมาณ 5 กิโลเมตร ทรายขาวละเอียดเหมาะสำหรับเล่นน้ำทะเล
window.google_render_ad();

พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน


รัชกาลที่ 6 โปรดให้รื้อพระตำหนักหาดเจ้าสำราญมาปลูกขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2466 ได้รับขนานนามว่า "พระราชนิเวศน์แห่งความรักและความหวัง" ลักษณะเป็นพระตำหนักไม้สองชั้น หันหน้าออกสู่ทะเล พระตำหนักฝ่ายในอยู่ปีกขวา ทางปีกซ้ายเป็นส่วนของฝ่ายหน้า ประกอบด้วยพระที่นั่งสามองค์เชื่อมต่อถึงกันโดยตลอด "พระที่นั่งสุนทรพิมาน" เป็นที่ประทับของพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจี พระวรชายา "พระที่นั่งพิศาลสาคร" เป็นที่ประทับของพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นหมู่พระที่นั่งตรงกลางประกอบด้วยห้องต่างๆ สำหรับสำราญพระอิริยาบถ ห้องพักข้าราชบริพารที่คอยรับใช้ใกล้ชิด ห้องทรงพระอักษร และ "พระที่นั่งสโมสรเสวกามาตย์ " เป็นอาคารโถงสองชั้นเปิดโล่งใช้เป็นที่ประชุมในโอกาสต่างๆ และเป็นโรงละคร ซึ่งเคยจัดแสดงละครครั้งสำคัญ 2 ครั้ง คือ เรื่องพระร่วง และวิวาห์พระสมุทร พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน เปิดให้เข้าชมทุกวัน ระหว่างเวลา 08.00 - 16.00 น. สำหรับผู้เข้าชมเป็นหมู่คณะ ต้องทำหนังสือถึงผู้กำกับการกองบังคับการฝึกพิเศษ ค่ายพระรามหก อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี โทร. (032) 471388 , 471130

พระราชวังบ้านปืน

พระราชวังบ้านปืน หรือ พระรามราชนิเวศน์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ให้สร้างด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อเป็นพระราชนิเวศน์ สำหรับประทับแรมในฤดูฝน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้จัดซื้อที่จากราษฎร และให้จอมพลเรือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้า บริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นแม่กองจัดการก่อสร้าง สร้างแบบสถาปัตยกรรมยุโรป ออกแบบโดยมิสเตอร์คาลเดอริง ชาวเยอรมัน เริ่มก่อสร้างในปี พ.ศ. 2452 แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2459 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระที่นั่งศรเพ็ชรปราสาท และทรงเปลี่ยนเป็น"พระรามราชนิเวศน์" ปี พ.ศ. 2461 ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ใช้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนผู้กำกับลูกเสือ โรงเรียนฝึกหัดครูเกษตรกรรม โรงเรียนประชาบาลประจำตำบล ฯลฯ การเข้าชมต้องทำหนังสือล่วงหน้าถึงผู้บังคับการจังหวัดทหารบก กองพันที่ 3 กรมทหารราบที่ 11 อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000 หรืออาจติดต่อที่ป้อมยามแลกบัตรเพื่อขอเข้าชมอย่างไม่เป็นทางการ
สถานีรถไฟหัวหิน (พลับพลาสถานีรถไฟ)

"สถานีรถไฟหัวหิน" เป็นหนึ่งในสถานีรถไฟที่เก่าแก่ที่สุดของไทย สิ่งที่เป็นเอกลักษณ์ของสถานีรถไฟแห่งนี้ คือ พลับพลาในแบบสถาปัตยกรรมไทยเด่นสะดุดตา ซึ่งได้ย้ายมาจากพระราชวังสนามจันทน์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 6 มีความสวยงามทางด้านสถาปัตย์และศิลป์ ซึ่งใครที่เห็นจะรู้สึกประทับใจ สถานียังคงเปิดให้บริการจวบจนทุกวันนี้ (ว้าว...)
เขาหินเหล็กไฟ

จุดชมวิวตัวเมืองและอ่าวหัวหินที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่ง ประกอบด้วยจุดชมวิวหลายจุด ที่สำคัญคือเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังมีศูนย์สินค้าพื้นเมือง สวนนก ร้านขายอาหาร และเครื่องดื่ม เป็นต้น ตั้งอยู่ห่างจากตัวเมืองหัวหินไปทางทิศตะวันตกประมาณ 3 ก.ม. ช่วงเวลาที่เหมาะต่อการชมพระอาทิตย์ คือ ช่วงเช้าตรู่ และยังมีสวนสาธารณะไม้ดอก สวนผีเสื้อ อยู่บนเขา และมีจุดชมวิวเห็นตัวเมืองหัวหิน สนามกอลฟ์ และทะเล (ยืนชมวิวกับคนรักก็เก๋ไม่เบา อิอิ)
เขาตะเกียบ เขาไกรลาส

มีวัดตั้งอยู่บนภูเขาซึ่งยื่นออกไปในทะเล ตั้งอยู่ห่างตัวเมืองทางทิศใต้ 6 ก.ม. ภายในบริเวณวัดร่มรื่น เย็นสบาย มีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมประดิษฐานอยู่ เป็นจุดที่สามารถมองเห็นทัศนียภาพอ่าวหัวหินที่งดงามมากจุดหนึ่ง รอบเขาตะเกียบนี้มีที่พักและร้านอาหารให้บริการหลายแห่ง และยังมีภูเขาลูกเล็กๆ 2 ลูกอยู่ใกล้กัน ห่างจากหัวหินไปทางใต้ประมาณ 14 กิโลเมตร เขาตะเกียบมีโขดหินที่ยื่นออกไปในทะเล มีความสวยงามเหมาะกับการพักผ่อนเป็นที่สุด และยังมีจุดชมวิวสวยๆ อีกด้วย
หาดหัวหิน

ชายหาดอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักตากอากาศที่มีชื่อเสียงแห่งแรกของเมืองไทย ด้วยน้ำทะเลใส ทรายสะอาด บรรยากาศดี จึงเป็นที่ใฝ่ฝันและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมานานทุกยุคทุกสมัย
ตลาดโต้รุ่งหัวหิน
นับเป็นสีสันยามราตรีของหัวหิน ทุกเย็นมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติแวะเวียนไปเสมอ เพราะเป็นแหล่งรวมแผงอาหารนานาชนิด ทั้งอาหารไทย อาหารทะเล ขนมไทย โรตีแขก ปรุงสดๆ ให้เลือกสรร นอกจากนั้นยังมีของที่ระลึกจำหน่ายมากมาย
ศูนย์บริการข้อมูลท่องเที่ยว โทร.0-3253-2433 สำนักงานการท่องเที่ยวภาคกลางเขต 2 (ททท.) โทร. 0-3247-1005-6 สถานีตำรวจ โทร.0-3251-5995 ที่ทำการไปรษณ๊ย์ โทร. 0-3251-1063 สถานีกาชาดเฉลิมพระเกียรติ โทร.0-3251-10124 สถานีรถปรับอากาศหัวหิน โทร.0-3251-1654 สถานีรถไฟหัวหิน โทร.0-3251-1073 สถานีขนส่งหัวหิน (บขส.) โทร 0-3251-1230 ท่าอากาศยานหัวหิน โทร. 0-3252-0343 สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง โทร.0-3251-3574 สถานีตรวจอากาศหัวหิน โทร.0-3251-1172 ศูนย์ร่วมด้วยช่วยกันหัวหิน โทร.0-3251-9111, 191 ข้อมูลการเดินทาง โดยรถยนต์ส่วนตัว ได้ 2 เส้นทาง - สายธนบุรี - ปากท่อ (ทางหลวงหมายเลข 35) ผ่านสมุทรสาคร สมุทรสงคราม แล้วเลี้ยวซ้ายเข้า ถ.เพชรเกษม (ทางหลวงหมายเลข 4) ผ่านเพชรบุรี เข้าหัวหิน ประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง - สายพุทธมณฑล ผ่านนครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี ประมาณ 3 ชั่วโมง โดยรถโดยสาร เริ่มต้นที่สถานีขนส่งสายใต้ใหม่ รถปรับอากาศมี 2 ประเภท คือ ชั้น 1 และ ชั้น 2 รถปรับอากาศชั้น 1 จะจอดเฉพาะอำเภอที่สำคัญเท่านั้น ส่วนรถปรับอากาศชั้น 2 จะแวะจอดรับผู้โดยสารระหว่างทางด้วย รถปรับอากาศชั้น 1 บ.พุดตานทัวร์ โทร.02-435-5302 บ.หัวหิน-ปราณทัวร์ 02-884-6191-2 บางสะพานทัวร์ 02-435-5105 รถปรับอากาศชั้น 2 รถร่วมบริการ 02-437-7414 โดยรถไฟ มีรถไฟไปหัวหินทุกวัน เริ่มที่หัวลำโพง โทร. 02-233-7010 , 02-223-7020 เริ่มที่สถานีธนบุรี-บางกอกน้อย โทร. 02-411-3104 โดยเครื่องบิน โดยบริษัทบางกอกแอร์เวย์ มีเที่ยวบินกรุงเทพฯ-หัวหิน วันละ 1 เที่ยว โทร. 02-229-3456-63

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น